เมนู

ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้
สำเร็จไม่ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ 4 ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่อ
อยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ อันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
ตรัสไว้แล้วนั้น เป็นไฉน.
[295] ดูก่อนสันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ มีปกติกล่าวอย่างนี้
มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี
สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้
และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก
คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดิน ไปตามธาตุดิน
ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์
ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ 5 จะหามเขาไป
เมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจนกพิลาป การ
เซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกพูดว่า มี
ผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมไม่มี ดังนี้.

ว่าด้วยอพรหมจริยวาส


[296] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมตระหนัก
ดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกตกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า การบูชาไม่มี

ผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลก
หน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ
ปฏิบัติชอบ ซึ่งทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา
ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไป
ตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็น
ที่ 5 จะหารเขาไปเมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมี
สีดุจนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของ
คนบางพวกพูดว่ามีผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย
ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมไม่มีดังนี้
ถ้าคำของศาสดาผู้นี้เป็นคำจริง กรรมในลัทธินี้ ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว
พรหมจรรย์ในลัทธินี้ที่เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้ไม่
ได้กล่าวว่า เพราะกายสลาย แม้เราทั้งสองจักขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่
ตายไปจักไม่มีดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอ ๆ กันใน
ลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือ ความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้พระพฤติเปลือยกาย เป็น
คนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเรา
อยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้
ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับ
ท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่าลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประ-
พฤติพรหมจรรย์ได้ ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อน
สันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ที่วิญญูชนไม่

พึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจาก
ทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่หนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้
แล้ว.
[297] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ มี
ปรกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ
ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศก
เองใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำให้เขาลำบากเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำเขาให้ลำบาก
ให้ดิ้นรนเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้
เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูด
เท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีด
โกน สังหารเหล่าสัตว์ในปถพีนี้ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออัน
เดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเองใช้
ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็น
เหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่ง
แม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำ
เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมาน
อินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ บุญย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึง
เขาดังนี้.
[298] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิท่านศาสดานี้ วิญญูชนย่อมเห็น
ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อ

บุคคลทำเองใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ให้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบาก
เอง ใช้ผู้อื่นให้ทำเขาให้ลำบาก ให้ดิ้นรนเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่
ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้
จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปถพีนี้ให้เป็นลานเนื้อ
อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน บาปที่มีการท่านั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี
แก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง
ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเองใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน
บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หาก
บุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้
ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา
ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ บุญย่อม
ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ถ้าคำของศาสดานี้เป็นคำจริง กรรมใน
ลัทธินี้ที่เราไม่ไค้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้เราไม่ได้อยู่เลย
เป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสอง เป็นผู้เสมอกัน ถึงความเสมอกันในลัทธินี้
เราไม่ได้กล่าวว่า เราทั้งสองผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความที่
ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรใน
การเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร
ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดี
ทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กับท่านศาสดานี้ในภพได้ เรานั้น
รู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นครั้น

รู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อ
หน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่
พระพฤติพรหมจรรย์ได้ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ ถึงเมื่ออยู่
ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สองนี้แล
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.
[299] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกมีปกติ
กล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่ง
สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ย่อรมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้
ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มี
ความบากบั่นของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มี
ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย
ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหก
เท่านั้น ดังนี้.
[300] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็น
ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่
มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุ
หาปัจจัยมิได้ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง
ปาณะทั้งปวง ภูตะทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี

ความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความ
เป็นเอง ย่อมเสวยสุข เสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น ดังนี้ ถ้าคำของท่าน
ศาสดานี้เป็นคำจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหม-
จรรย์ในลัทธินี้ที่เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้ไม่ได้
กล่าวว่า เราทั้งสองหาเหตุหาปัจจัยมิได้จักบริสุทธิ์เอง ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้
เสมอ ๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยังยิ่งกว่านั้นก็คือ ความที่
ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรใน
การเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร
ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดี
ทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรา
นั้นรู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้น
นั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น.
ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่
วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม เครื่อง
ออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สามนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบตรัส
ไว้แล้ว.
[301] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้
มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า สภาวะ 7 กองเหล่านี้ ไม่มีใคร
ทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นหมัน
ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ 7 กองเหล่านั้น

ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือ
ทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ 7 กองเป็นไฉน คือ กองดิน
กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ 7 สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มี
ใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็น
สภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ 7
กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจ
ให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี
ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี
ไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น เพราะแม้บุคคลจะเอาศัตราอย่างคมตัดศีรษะกัน
ก็ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิตใคร ๆ เป็นแต่ศัตราสอดไปในช่องแห่งสภาวะ 7
กองเท่านั้นดังนี้ ก็แต่กำเนิดที่เป็นประธาน 1,406,600 กรรม 500
กรรม 5 กรรม 3 กรรม 1 กรรมครึ่ง ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ
6 ปุริสภูมิ 8 อาชีวก 4,900 ปริพพาชก 4,900 นาคาวาส 4,900 อินทรีย์
2,000 นรก 3,000 รโชธาตุ 36 สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคันถ-
ครรภ์ 7 เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7 สระ 7 ปวุฏะ 7 หิน 7 เหวใหญ่
7 เหวน้อย 700 มหาสุบิน 7 สุบิน 700 มหากัป 8,400,000 เหล่านี้ ที่พาล
และบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่า เราจัก
บ่มกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผล
แล้ว จักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้
ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน
ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม ความเจริญ ไม่มี
การเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้
เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเองฉะนั้น ดังนี้.

[302] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็น
ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่
มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็น
สภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ 7
กอง เหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่
อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ7 กองเป็นไฉน
คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ 7
สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่
มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจ
เสาระเนียด สภาวะ 7 กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียด-
เบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้
ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดีผู้ทำ
ให้เข้าใจความก็ดีไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น เพราะแม้ว่าบุคคลจะเอาศัสตราอย่าง
คมตัดศีรษะกัน ก็ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิตใคร ๆ เป็นแต่ศัสตราสอดไปตาม
ช่องแห่งสภาวะ 7 กองเท่านั้นดังนี้ ก็แต่กำเนิดที่เป็นประธาน 1,406,600
กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรมครึ่ง ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62
อภิชาติ 6 ปุริสภูมิ 8 อาชีวก 4,900 ปริพพาชก 4,900 นาคาวาส 4,900
อินทรีย์ 2,000 นรก 3,000 รโชธาตุ 36 สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7
เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7 สระ 7 ปวุฏะ 7 หิน 7 เหวใหญ่ 7 เหวน้อย
700 มหาสุบิน 7 สุบิน 700 มหากัป 8,400,000 เหล่านี้ ที่พาลและบัณฑิต
เร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักบ่มกรรมที่ยัง
ไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จัก

ทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่นั้น
สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุดได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนานย่อมไม่มีในสงสาร
ด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม ความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง
พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่
บุคคลขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ดังนี้. ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็น
คำจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้
ที่เรามิได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้มีได้กล่าวว่า เราทั้งสอง
เร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน ถึง
ความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประ-
พฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมือง
กาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มี
คติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจัก
ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาส
ที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์
นั้น ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่
วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออก
ไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัส
ไว้แล้ว ดูก่อนสันทกะ ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่อง
ออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้
ผู้เห็นเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[303] ท่านพระอานนท์ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้รู้
ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสลัทธิอันไม่เป็น
โอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์สี่ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติ-
พรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จ
ไม่ได้นี้ น่าอัศจรรย์ ท่านพระอานนท์ ไม่เคยมี ท่านพระอานนท์ ก็พรหมจรรย์
อันเว้นความยินดีสี่ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์เลย ถึง
เมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้เหล่านั้น อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้แล้ว เป็นไฉน.
[304] ดูก่อนสันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ ตั้งตนเป็นสัพพัญญู
รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน
อยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นปรากฏเสมอเป็น
นิจ ศาสดานั้นเข้าไปเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดเอาบ้าง พบ
ม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง
ถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง เมื่อถูกถามว่านี่อะไร
ก็ตอบเขาว่า เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อน
ข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบ
ช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชาย
บ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อบ้าง ทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคม
บ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม.
ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมทราบ
ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาซึ่งตั้งตัวเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิ-

ญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี
หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นปรากฏเสมอเป็นนิจ ศาสดานั้นเข้า
ไปยังเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดบ้าง พบช้างดุบ้าง พบม้าดุ
บ้าง พบโคดุบ้าง ถามชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถาม
ถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง ศาสดานั้นเมื่อถูกถามว่า
นี่อะไร ก็ตอบเขาว่า เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่
ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด
เราพบช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบโคดุด้วย
เหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ด้วย
เหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง
ด้วยเหตุที่ควรถาม ดังนี้ วิญญูชนครั้นรู้ว่า พรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดี
ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ พรหม-
จรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึง
เมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่หนึ่ง
นี้แลอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.
[305] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้
เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกัน เป็นผู้เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกัน ศาสดานั้นจึง
แสดงธรรมโดยฟังตามกัน โดยสืบๆ กันมาว่าอย่างนั้นๆ โดยอ้างตำรา ดูก่อน
สันทกะ ก็เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกันแล้ว
ย่อมมีการฟังดีบ้าง มีการฟังชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง.

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมทราบ
ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดานี้เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการ
ฟังตามกัน ท่านศาสดาผู้นั้นแสดงธรรมโดยการฟังตามกัน โดยสืบ ๆ กันมา
ว่าอย่างนั้น ๆ โดยอ้างตำรา ก็เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริง
ด้วยการฟังตามกันแล้ว ย่อมมีการฟังดีบ้าง การฟังชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างอื่นบ้าง ดังนี้ วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดี
ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ พรหม-
จรรย์อันเว้นจากความยินดีที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่อ
อยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่สองนี้แล
อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.
[306] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็น
ผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณ
ของตนเทียบเหตุตามความที่ตนตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ดูก่อน
สันทกะ ก็เมื่อศาสดาใช้ความตรึก ใช้ความพิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดี
บ้าง ความตรึกชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง.
ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมทราบ
ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาจารย์นี้เป็นผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณา
ท่านศาสดาจารย์นั้นย่อมแสดงธรรมตามปฏิภาณของตนเทียบเหตุตามความที่ตน
ตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ก็เมื่อศาสดาเป็นผู้ใช้ความตรึก ใช้ความ
พิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดีบ้าง ความตรึกชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างอื่นบ้าง วิญญูชนนั้น ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้
แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีที่วิญญูชนไม่พึง
ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์
ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่สามนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.
[307] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็น
คนเขลางมงาย เพราะเป็นคนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูก
ถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมถึงความส่ายวาจา คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความ
เห็นของเราว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่
ไม่ใช่ก็มิใช่ดังนี้ ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อม
ทราบตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดานี้เป็นคนเขลางมงาย เพราะเป็นคนเขลา
เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมถึงความส่าย
วาจา คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้น
ก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้ วิญญูชนนั้น
ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจาก
พรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญญูชน
ไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจาก
ทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว
ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้
สำเร็จไม่ได้ สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระ-
อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[308] ท่านพระอานนท์ ข้อที่พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีสี่
ประการนั้นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัส
รู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสว่าเป็นพรหมจรรย์เว้นจากความ
ยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม
เครื่องออกจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้นี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านพระอานนท์
ก็ศาสดานั้นมีปรกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร ในพรหมจรรย์ที่วิญญูชนพึง
อยู่โดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ว่าด้วยณาน 4


[309] ดูก่อนสันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ-
อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรง
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคต
พระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูล
หนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบ
ด้วยการได้ศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่ง
ธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลอยู่ครองเรือน จะประพฤติ-
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย